เกร็ดเที่ยว

เปรียบเทียบสายการบิน Full-Service กับ Low-Cost แตกต่างกันอย่างไร

สวัสดีครับ วันนี้ทีมงาน ปะเที่ยวกัน.com จะมาเปรียบเทียบ ระหว่างสายการบินแบบ Full-Service หรือสายการบินเต็มรูปแบบ กับ สายการบิน Low-Cost หรือ สายการบินต้นทุนต่ำ ว่ามีอะไรแตกต่างบ้าง มีอะไรเหมือนกันบ้าง

ต้องบอกก่อนเลยว่าในปัจจุบันนี้ สายการบินต้นทุนต่ำหรือ Low-Cost Airlines เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในชีวิตของคนเราในยุคนี้ไปเสียแล้ว เพราะใคร ๆ ก็อยากได้ของถูก เพราะผู้โดยสารบางคนต้องการเพียงแค่การโดยสารให้ถึงจุดหมายปลายทางเท่านั้น โดยไม่ได้ต้องการการบริการที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสายการบินต้นทุนต่ำจึงตอบโจทย์ในสิ่งนี้

แล้วเรามาดูกันว่าสายการบิน Full-Service หรือสายการบินเต็มรูปแบบ กับสายการบิน Low-Cost หรือ สายการบินต้นทุนต่ำ นั่นมีความเหมือน หรือ แตกต่างกันอย่างไร

รายการ Low-Cost Full-Service
ราคา ถูก แพง
เลาจน์ ไม่มี มี
ถือกระเป๋าขึ้นเครื่อง ได้ ได้
โหลดกระเป๋า เสียเงินเพิ่ม ฟรี
อาหารบนเครื่อง เสียเงินเพิ่ม ฟรี
เครื่องดื่มบนเครื่อง เสียเงินเพิ่ม ฟรี
ขนาดที่นั่ง มาตรฐาน ใหญ่กว่ามาตรฐาน
เลือกที่นั่ง เสียเงินเพิ่ม ฟรี
ความบันเทิงบนเครื่อง ไม่มี มี
Wifi บนเครื่อง เสียเงินเพิ่ม เสียเงินเพิ่ม
การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เสียเงินเพิ่ม ฟรี
ขอคืนเงิน ไม่ได้ ได้

ราคา

เป็นสิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเลยว่ามีความแตกต่างเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าสายการบิน Low-Cost สามารถประหยัดราคาตั๋วได้เกินครึ่งหนึ่งของสายการบิน Full-Service เพราะสายการบินต้นทุนต่ำตัดบริการบางอย่างออกไป ให้เหลือเพียงแค่ตัวคุณที่จะโดยสารเท่านั้น

เลาจน์

สายการบิน Full-Service จะมาพร้อมกับ Lounge ซึ่งผู้โดยสารสามารถเข้าไปนั่งรอก่อนการขึ้นเครื่องบิน ซึ่งแน่นอนว่าสายการบิน Low-Cost ไม่มีบริการนี้ (อยากเข้าเข้าเลาจน์ฟรี คลิกอ่านเลย

การโหลดกระเป๋า

แน่นอนที่สุดสายการบิน Low-Cost นั้น หากคุณต้องการที่จะโหลดกระเป๋าหรือมีสัมภาระเกินกว่าที่จะถือขึ้นเครื่องได้นั้นผู้โดยสารต้องเสียค่าบริการเพิ่ม แตกต่างจากสายการบิน Full-Service ที่ราคาตั๋วนั่นรวมค่าน้ำหนักกระเป๋าแล้ว 20-30 กิโลกรัม

อาหารบนเที่ยวบิน

อาหารบนเที่ยวบินเป็นอีกหนึ่งบริการที่สายการบิน Full-Service ได้รวมเข้าไปในค่าตั๋วแล้วเช่นกัน เฉพาะนั้น อาหาร เครื่องดื่ม ไวน์ กาแฟ เบียร์ สามารถขอได้ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากสายการบิน Low-Cost ที่ผู้โดยสารต้องสั่งซื้อและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเอง

ขนาดที่นั่ง

ขนาดที่นั่งของสายการบิน Low-Cost มักจะมีขนาดที่เล็กกว่าสายการบิน Full-Service ปรับเอนได้น้อยกว่า และที่สำคัญสายการบิน Full-Service สามารถเลือกที่นั่งได้ฟรี ซึ่งแตกต่างจากสายบิน Low-Cost ซึ่งหากต้องเลือกที่นั่งก็ต้องเสียเงินเพิ่ม

Inflight Entertainment

ความบันเทิงระหว่างเที่ยวบิน อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่แตกต่าง เนื่องจากสายการบิน Low-Cost นั่นจะไม่มีความบันเทิงระหว่าเที่ยวบิน เช่น จอทีวี เพื่อดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมได้ระหว่าเที่ยวบิน แตกต่างจาก Full-Service ซึ่งมีมาพร้อมเพราะราคาเหล่านี้รวมอยู่ในค่าตั๋วแล้ว

การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินหรือคืนเงิน

หากเป็นสายการบิน Low-Cost นั้น แน่นอนไม่อนุญาตให้คืนเงิน และการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินนั้นมีค่าธรรมเนียมที่สูง ซึ่งในบางครั้งซื้อตั๋วใหม่ราคาจะถูกกว่าเปลี่ยน แตกต่างกันกับ Full-Service ที่สามารถเปลี่ยนแปลงวันเวลาเดินทางได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม หรือขอคืนเงินก็ได้ เว้นเสียแต่ว่าเป็นตั๋วโปรโมชั่นอาจจะมีเงื่อนไขว่าห้ามเปลี่ยนแปลง หรือขอคืนเงิน

ความปลอดภัย

สิ่งนี้ถือเป็นหัวใจหลักของทุกสายการบิน ไม่ว่าจะเป็น Low-Cost หรือ Full-Service เพราะฉะนั้นแล้วทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ และสายการบินเต็มรูปแบบ นั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เท่ากัน

แล้วเราจะเลือกสายการบินแบบไหน ระหว่าง Low-Cost หรือ Full-Service

  • สายการบิน Low-Cost
    • เดินทางระยะสั้น ประมาณ 1-4 ชั่วโมง
    • เดินทางโดยไม่มีสัมภาระ หรือมีแต่ไม่เกิน 7 กิโลกรัม
    • ไม่ต้องการอาหารหรือเครื่องดื่มระหว่างเที่ยวบิน
  • สายการบิน Full-Service
    • เดินทางระยะทางไกลตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป
    • มีสัมภาระมากกว่า 7 กิโลกรัม
    • ต้องการบริการที่มากกว่าเช่น เลาจน์ อาหารระหว่าเที่ยวบิน หรือความบันเทิงระหว่างเที่ยวบิน

สรุป

ไม่ว่าจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำหรือสายการบินเต็มรูปแบบก็ล้วนแต่นำเพื่อน ๆ ทุกคนไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่เพื่อน ๆ ต้องการ มีเพียงส่วนที่แตกต่างกันในด้านการบริการภาคพื้นและการบริการบนเที่ยวบินเท่านั้นที่ความแตกต่างกัน ฉะนั้นเลือกให้เหมาะสมจะได้คุ้มค่าคุ้มราคากับสิ่งที่ต้องเสียไป

ฝากกด Like Page / IG / Youtube เพื่อเป็นกำลังใจในการไปรีวิวที่อื่น ๆ ด้วยนะครับ ทริปต่อไปจะพาไปไหนกัน คอยติดตามกันด้วยะครับ

Youtube icon

YouTube: ปะเที่ยวกัน

Line icon Line: @PATAEWGUN
instagram icon

Instagram: PATAEWGUN

Twiiter icon Twitter: PATAEWGUN
Facebook icon

Facebook: PATAEWGUN

   
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button